บรูไนดารุสราม
ที่มาและความสำคัญ
ชื่อทางการ
เนการาบรูไนดารุสซาลาม (Negara Brunei Darussalam แปลว่า ดินแดนแห่งความสงบสุข)
ที่ตั้ง
ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว ทิศตะวันออก ตะวันตกและทิศใต้ติดเขตซาราวัก ประเทศมาเลเซีย
โดยพื้นที่ร้อยละ 70 เป็นป่าไม้
พื้นที่
5,765 ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็น 4 เขต คือ Brunei-Muara, Belait, Temburong และ Tutong
เมืองหลวง
บันดาร์เสรีเบกาวัน (Bandar Seri Begawan) อยู่ในเขต Brunei-Muara
ประชากร
374,577 คน (2550) เชื้อชาติมาเลย์ 250,967 คน (67%) จีน 56,187 คน (15%) และอื่น 67,424 คน (18%)
อัตราการเพิ่มประชากรปีละ 3.5 % (2550)
ภูมิอากาศ
ร้อนชื้น มีฝนตกชุกตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ย 23-32 องศาเซลเซียส ฝนตกหนักสุดช่วงเดือนกันยายนถึงมกราคม
และพฤษภาคมถึงกรกฎาคม อากาศเย็นสบายที่สุดจะอยู่ช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน
ภาษา
ภาษามาเลย์ (Bahasa Melayu) เป็นภาษาราชการ ภาษาอังกฤษและภาษาจีนเป็นภาษาที่ใช้สื่อสารแพร่หลาย
ศาสนา
ศาสนาประจำชาติ คือ ศาสนาอิสลาม (67%) ศาสนาอื่น ๆ ได้แก่ ศาสนาพุทธ (13%) ศาสนาคริสต์ (10%)
และฮินดู
หน่วยเงินตรา
ดอลลาร์บรูไน (Brunei Dollar) ประมาณ 1.37 ดอลลาร์บรูไน/1 ดอลลาร์สหรัฐ (1)หรือ ประมาณ
23.98 บาท/ 1 ดอลลาร์บรูไน (2) (บรูไนมีความตกลงแลกเปลี่ยนเงินกับสิงคโปร์ทำให้เงินดอลลาร์บรูไนมีมูลค่า
เท่ากับเงินดอลลาร์สิงคโปร์และสามารถใช้แทนกันได้ แต่อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทกับดอลลาร์สิงคโปร์ ประมาณ
23.95บาท/ 1 ดอลลาร์สิงคโปร์)
GDP
GDP *18,918 ล้านดอลลาร์บรูไน (2549)
GDP per capita 49,400 ดอลลาร์บรูไน (2549)
GDP Growthร้อยละ 3.8
ระบอบการปกครอง
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัลโบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์
(His Majesty Sultan HajiHassanal Bolkiah Mu’izzaddin Waddaulah) ทรงเป็นสมเด็จพระราชาฯ
องค์ที่ 29 ทรงเป็นองค์พระประมุขของประเทศตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2510 ซึ่งในปีนี้ (2551) เป็นวาระเฉลิมฉลองพระชนมายุครบ
62 ปี ของสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไนฯ
วันสำคัญ
วันประกาศอิสรภาพ 1 มกราคม พ.ศ.2527
วันคล้ายวันประสูติสมเด็จพระราชาธิบดีฯ 15 กรกฎาคม
ธงชาติ
ธงชาติบรูไน ลักษณะของธงชาติมีพื้นสีเหลือง โดยมีแถบสีขาว และสีดำ พาดตามแนวทแยงมุมจากด้านคันธงจรดปลายธง ซึ่งแถบสีขาวอยู่ด้านบน แถบสีดำอยู่ด้านล่าง ขณะที่กลางธงนั้น มีตราแผ่นดินของบรูไนประทับอยู่ ซึ่งสีต่าง ๆ มีความหมาย ดังนี้
สีเหลือง หมายถึง กษัตริย์
สีขาว และสีดำ หมายถึง มุขมนตรี
สาเหตุที่ธงชาติบรูไนใช้สีเหลืองสื่อถึงกษัตริย์นั้น เนื่องจากธงประจำพระองค์ของสุลต่านแห่งบรูไน ใช้ธงพื้นสีเหลือง
การค้าและการลงทุนระหว่างไทยและบรูไน
การลงทุน
ระบบเศรษฐกิจของบรูไนเป็นแบบตลาดเสรีภายใต้ความดูแลของรัฐ รายได้หลักของบรูไนมาจากน้ำมันร้อยละ 48 และก๊าซธรรมชาติร้อยละ 43 ปริมาณการผลิตน้ำมันประมาณ 180,000 บาเรล/วัน นับเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่อันดับที่ 4 ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย เวียดนาม และมาเลเซีย และผลิตก๊าซธรรมชาติได้เป็นอันดับ 4 ของโลก คือประมาณ 1.2 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โดยมีบริษัทปิโตรเลียมแห่งชาติ (Brunei National Petroleum Company Sedirian Berhad หรือ Petroleum Brunei เป็นหน่วยงานกำหนดนโยบายน้ำมันและก๊าซของบรูไน
บรูไนมุ่งเน้นสร้างความมั่งคั่งโดยอาศัยรายได้จากน้ำมันไปลงทุนในต่างประเทศ หรือร่วมทุนกับต่างประเทศ โดยดำเนินการผ่านสำนักงานการลงทุนของบรูไน (Brunei Investment Agency : BIA) ในรูปของการถือหุ้นหรือซื้อพันธบัตรในยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ทั้งนี้ การลงทุนของ BIA มักอาศัยผู้เชี่ยวชาญจากสิงคโปร์เป็นผู้ให้คำปรึกษา
การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI : Foreign Direct Investment)
การลงทุนมีมูลค่า 335.39 ล้านเหรียญบรูไน ในปี 2551 ลดลงร้อยละ 14.8 เมื่อเทียบกับมีมูลค่า 392.1ล้านเหรียญบรูไน ในปี 2550 โดยกลุ่มประเทศที่เข้าไปลงทุนได้แก่
1)ประเทศในสหภาพยุโรปมีปริมาณการลงทุนมากถึงร้อยละ 96.6 ประกอบด้วย สหราชอาณาจักร ร้อยละ 65.7 และเนเธอร์แลนด์ ร้อยละ 30.9
2)ประเทศในกลุ่มอาเซียนยังคงมีการลงทุนในบรูไนน้อยมาก มีเพียงร้อยละ 0.4 ประกอบด้วยมาเลเซีย และสิงคโปร์ร้อยละ 0.2 เท่ากัน
3)ประเทศอื่นๆ ปริมาณร้อยละ 1.8 ประกอบด้วย นิวซีแลนด์ ร้อยละ 0.42 สหรัฐอเมริกา ร้อยละ 1.3 และสวิตเซอร์แลนด์ร้อยละ 0.08
การลงทุนในปี 2551 ที่สำคัญ ได้แก่ การขุดแร่และทำเหมืองแร่ ร้อยละ 94.2 การขนส่ง คลังสินค้าและคมนาคม ร้อยละ 5 การค้าปลีกและค้าส่ง ร้อยละ 0.1 และการก่อสร้างร้อยละ 0.1
การลงทุนของไทยและบรูไน
การลงทุนของบรูไนในไทยที่สำคัญ คือ การลงทุนระหว่าง Brunei Investment Agency (BIA) และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ของไทย ซึ่งได้ร่วมกันจัดตั้งกองทุนร่วมลงทุน (Matching Fund) ในชื่อกองทุนไทยทวีทุน 1 มูลค่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2546 มีอายุกองทุน 8 ปี จึงหมดอายุลงในปี 2551 และเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2551 กบข. และ BIA ได้จัดตั้งกองทุนไทยทวีทุน 2 มูลค่า 2,530 ล้านบาท ซึ่งมีอายุกองทุน 10 ปี สำหรับการลงทุนของไทยในบรูไนมีมูลค่าไม่มากนัก ได้แก่ การรับเหมาก่อสร้าง ร้านขายของ ร้านอาหาร และอู่ซ่อมรถ เป็นต้น
บรูไน ดารุสซาลาม : ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และ รัฐสมัยใหม่
บรูไนดารุสซาลาม (นครแห่งสันติสุข) เป็นประเทศขนาดเล็ก เป็นรัฐอิสระที่มีรูปแบบการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลังจากที่ได้รับเอกราชจากประเทศอังกฤษในปี 1984 สถาบันพระมหากษัตริย์ของบรูไนสามารถที่จะสร้างอำนาจทางการเมืองให้เข้มแข็ง เกือบเรียกได้ว่าไม่มีสิ่งใดมาท้าทายการควบคุมอำนาจของรัฐได้ อะไรเป็นสิ่งที่จะช่วยอธิบายความยั่งยืนของการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของบรูไน? บทความนี้ตั้งสมมติฐานว่า ความสำเร็จของราชวงศ์บรูไนในการรวมอำนาจศูนย์กลางไว้ที่องค์ที่สุลต่านขึ้นอยู่กับความสามารถในการได้มาซึ่งความชอบธรรมทางขนบธรรมเนียมดั้งเดิมและทางทางศาสนา นำไปสู่ความมีเสถียรภาพของระบบกษัตริย์ ตลอดจนความสามารถในการหลีกเลี่ยงความต้องการปฏิรูปการเมือง โดยการนำเอารายได้ของประเทศที่ได้จากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ มามอบให้กับประชาชนในรูปสวัสดิภาพที่มีเม็ดเงินจำนวนมาก สุลต่านของบรูไนได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการปรับตัว และความยืดหยุ่นต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์
เรื่องราวของเจ้าผู้ครองรัฐบรูไน (ยังดี เปอร์ตวน เนการ่า) เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์สุลต่านที่มีความยาวนานกว่า 600 ปี ซึ่งเจ้าผู้ครองรัฐ หรือ สุลต่านในปัจจุบันคือ สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาเลาะห์ ทรงเป็นสุลต่านลำดับที่ 29 ประเทศบรูไนมีประชากรเพียงประมาณ 400,000 คน ประกอบด้วยเชื้อสายมาเลย์ร้อยละ 66 และมีลักษณะภูมิประเทศที่แบ่งออกเป็น 2 ส่วนที่ถูกล้อมรอบด้วยรัฐซาราวักของประเทศมาเลเซีย หลังจากที่สถาบันกษัตริย์ขึ้นถึงจุดสูงสุดของอำนาจในศตวรรษที่สิบหก ก็ตามด้วยจุดถดถอยลง และต่อมาในศตวรรษที่สิบเก้า อาณาเขตของบรูไนก็ลดน้อยลงเนื่องจากอิทธิผลของตระกูล เจ้าผู้ครองรัฐซาราวัก แต่การเข้ามาลัทธิอาณานิคมอังกฤษในปี 1906 มีส่วนช่วยรักษาสถาบันกษัตริย์ของบรูไนไว้ ช่วงถึงช่วงปลายปี ค.ศ.1959 การนำเสนอการปกครองรูปแบบใหม่ที่ให้อำนาจในการปกครองด้วยตัวเองแก่บรูไน มีส่วนในการฟื้นอำนาจทางการเมืองของสุลต่าน
รัฐธรรมนูญใหม่ที่ประกาศใช้ในปี 1959 ระบุไว้ถึงสภานิติบัญญัติที่สมาชิกส่วนหนึ่งมาจากการเลือกตั้ง ซึ่งพรรค Brunei Rakyat Party (PRB) ก็ได้รับเลือกตั้งเข้ามาทำงานในสภานิติบัญญัติแต่เพียงพรรคเดียว อย่างไรก็ตาม การต่อต้านด้วยอาวุธต่อการรวมตัวกับมาเลเซียในปี 1962 กลายมาเป็นปัจจัยสำคัญที่ห้ามมิให้ผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งทางการเมือง การก่อจลาจลที่เกิดขึ้นในปีนั้นได้ถูกปราบปรามโดยอังกฤษอย่างทันที นับเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญเหตุการณ์หนึ่งในประวัติศาสตร์ทางการเมืองของบรูไน สะท้อนถึงความเปราะบางของระบบการเมืองภายใน ขณะเดียวกัน ก็เปิดโอกาสให้สุลต่าน โอมา อาลี ไซฟัดดิน ที่ 3 ประกาศภาวะฉุกเฉิน และเลื่อนการแก้ไขรัฐธรรมนูญออกไป รวมไปถึงให้ความชอบธรรมต่อสถาบันกษัตริย์ในการปฏิเสธที่จะเข้าร่วมกับมาเลเซีย เพื่อที่จะปฏิเสธที่อยู่ถูกกดดันจากอังกฤษในแก้ไขรัฐธรรมนูญ สุลต่านได้ทรงสละราชสมบัติให้พระราชโอรส พระนามว่า ฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ ขึ้นมาครองราชย์แทน อาจกล่าวไว้ว่า ระบบอาณานิคมของอังกฤษทำให้สถาบันกษัตริย์ที่มีความอ่อนแอและขาดเอกภาพได้ฟื้นตัวขึ้น เปิดโอกาสให้สถาบันกษัตริย์ปรับตัวจวกลายมาเป็นระบบการปกครองแบบรวมอำนาจ
ชุดประจําชาติบรูไน
ชุดประจำชาติของบรูไนคล้ายกับชุดประจำชาติของผู้ชายประเทศมาเลเซีย เรียกว่า บาจู มลายู (Baju Melayu) ส่วนชุดของผู้หญิงเรียกว่า บาจูกุรุง (Baju Kurung) แต่ผู้หญิงบรูไนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีสีสันสดใส โดยมากมักจะเป็นเสื้อผ้าที่คลุมร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ส่วนผู้ชายจะแต่งกายด้วยเสื้อแขนยาว ตัวเสื้อยาวถึงเข่า นุ่งกางเกงขายาวแล้วนุ่งโสร่ง เป็นการสะท้อนวัฒนธรรมสังคมแบบอนุรักษ์นิยม เพราะบรูไนเป็นประเทศมุสสิม จึงต้องแต่งกายมิดชิดและสุภาพเรียบร้อย
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น